6 ตัวการที่ทำให้ อาหารไม่ย่อย พร้อมบอกวิธีแก้ไขที่จะช่วยให้ใช้ชีวิตสบายขึ้น

6 ตัวการที่ทำให้ อาหารไม่ย่อย พร้อมบอกวิธีแก้ไขที่จะช่วยให้ใช้ชีวิตสบายขึ้น

ใครที่เคยมีอาการอาหารไม่ย่อย หรือแน่นท้อง ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะคุณจะรู้สึกไม่สบายตัว จะนั่ง จะนอน หรือขยับร่างกายก็ไม่สะดวกสบายไปซะทั้งหมด ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ลักษณะมันจะเหมือนคุณรู้สึกแน่นตัว จุกเสียดที่ท้อง อึดอัด ไม่สบายตัว บางคนอาหารไม่ย่อยหนักมากถึงขั้นแสบร้อนกลางอกเลยก็มี ซึ่งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ โดยไม่ทันได้ตั้งตัว

แต่เพราะอาการอาหารไม่ย่อยนี้มักจะหายไปเองหลังจากเวลาผ่านไปไม่นานทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกมองข้าม และคิดว่ามันไม่อันตรายอะไร ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นตัวการนำไปสู่โรคในระบบย่อยอาหารอื่น ๆ ด้วยก็ได้เช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการอาหารไม่ย่อยกันว่า มันคืออะไร เสี่ยงแค่ไหน อันตรายระดับใด และอะไรที่ทำให้เกิดเจ้าสิ่งนี้ขึ้นมา เพื่อทุกคนจะได้ระมัดระวังตัว และหลีกเลี่ยงมั่นได้นั่นเอง

เช็กตัวเองสักนิด ว่าเรามีอาการ อาหารไม่ย่อย รึเปล่า

อันดับแรกให้คุณเช็กตัวเองก่อนว่าเราเข้าข่ายคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยตรงนี้หรือไม่ โดยสังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่เรามีอาการข้อใดข้อหนึ่งเหล่านี้ หรือมีทั้งหมดหรือไม่

  1. รู้สึกคลื่นไส้ เรอ คล้ายจะอาเจียน
  2. รู้สึกร้อนกลางอก แสบ ๆ ระหว่างอกไปจนถึงสะดือ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
  3. รู้สึกอิ่มไวหลังกินได้ไม่นาน หรือกินไม่ได้เยอะ
  4. ปวดท้อง จุก เสียด แน่นท้อง อึดอัด ไม่สบายตัว

อาการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงต่อการอาหารไม่ย่อยสูงทีเดียว ซึ่งต่อให้มันจะไม่ได้อันตรายถึงชีวิต แต่มันก็ทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง เพราะคุณจะทำสิ่งต่าง ๆ ไม่สะดวกสบายขึ้นเหมือนเดิมนั่นเอง

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร

หลังจากเช็กตัวเองแล้วว่าเราเองอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยอยู่กับตัว ก็ต้องมาดูที่สาเหตุหลัก ๆ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจากพฤติกรรมของตัวเราเองทั้งสิ้น ที่ทำให้อาหารไม่ย่อย ไม่ว่าจะเป็น

  1. พฤติกรรมการกิน

หากเรากินอาหารและเคี้ยวไม่ละเอียด กินคำใหญ่เกินไป กินเร็ว กลืนไว กินอาหารเผ็ด หรือของที่ย่อยยาก ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ รวมถึง ชา กาแฟ น้ำอัดลมต่าง ๆ ก็เป็นต้นเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยได้เช่นกัน

  1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

ความเครียด ความกังวลใจ ก็จะทำให้ระบบในร่างกายไม่สมบูรณ์ และส่งผลให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้ คนที่สูบบุหรี่เองก็มีโอกาสที่จะพบเจอปัญหานี้มากกว่าคนปกติ

  1. น้ำหนักเกิน

น้ำหนักเกิน หรือความอ้วน จะทำให้เกิดอาการท้องอิด เนื่องจากแรงดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้น เมื่อได้ทานอาหารเข้าไป หรือขยับตัวเกินกว่าปกติ ลมจะตีขึ้นจนคุณรู้สึกอึดอัดได้

  1. คนท้อง

คนท้อง จะมีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น มีแรงกดในช่องท้องมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการท้องอืดขึ้นตามมา

  1. มีปัญหาสุขภาพ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี หรือแม้แต่การแพ้กลูเทน ทั้งหมดนี้เป็นตัวการที่ทำให้คุณอาหารไม่ย่อยทั้งสิ้น

  1. ผลข้างเคียงจากยา

สุดท้ายแล้วตัวการหลักที่ทำให้อาหารไม่ย่อยก็คือ เหล่ายาต่าง ๆ ที่จะส่งผลออกฤทธิ์ต่อระบบย่อยอาหารของเรา ไม่ว่าจะเป็นยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอาการ อาหารไม่ย่อยได้ทั้งสิ้น เพราะมันมีตัวแปรต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงสาเหตุตัวการบางอย่างเราเองก็ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือฮอร์โมน ที่เป็นเรื่องของร่างกายภายในที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ๆ ได้นั่นเอง

รักษาอาการอาหารไม่ย่อยด้วยตัวเองง่ายๆ เพียงปรับพฤติกรรม

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงแค่เราปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ของเราให้ต่างไปจากเดิมสักหน่อย และทำให้มันถูกต้องตามหลักอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้มากทีเดียว

  1. กินอาหารน้อยลง ไม่มากเกินไป
  2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก่อนที่จะกลืนลงไป
  3. ไม่กินอาหารรสจัด และอาหารไขมันสูง
  4. ลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากนี้ การที่เรามีจิตใจที่บริสุทธิ์ ไม่มีความเครียด และใช้ชีวิตด้วยความมีสติต่าง ๆ เองก็จะช่วยลดปัญหาตรงนี้ได้เหมือนกัน เพราะอารมณ์ ความวิตกกังวล และความเครียด จะก่อให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้ ซึ่งการรักษาควบคู่ไปเพื่อให้คนที่มีความคิดในแง่ลบเหล่านี้หายจากปัญหาอาหารไม่ย่อยได้ ก็อาจจะมีเรื่องของการทานยาต้านเศร้า ยาระงับอาการวิตกกังวล เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วอาหารไม่ย่อยไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต เพียงแต่มันสร้างความรำคาญ และทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างไม่เต็มที่และไม่ราบรื่นนั่นเอง ดังนั้นวิธีการจัดการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง รู้จักวิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด ผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ การเปลี่ยนตัวเองทีละนิด จะช่วยให้สิ่งผิดปกติทุกอย่างค่อย ๆ จางหายไป และคุณเองก็จะโบกมือลาอาการอาหารไม่ย่อยไปได้ตลอดการ