ปีศาจร้ายในกายที่ชื่อว่า “โรคกระเพาะอาหาร”
หลายครั้งที่คนเรามักจะโทษสิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวของเราว่า มันคือโชคชะตาหรือความโชคร้าย และบ่อยครั้งอีกเช่นกันที่เรามักจะโทษสิ่งต่างๆ ที่เรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าว่า สิ่งที่ทำให้เราเกิดทุกข์เหล่านั้นคือ เคราะห์กรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วเราก็ไม่สามารถหาบทพิสูจน์ของข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเรื่องไม่ดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเราเหล่านั้นได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องของสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บด้วยแล้ว เราจะไปโทษผีสางนางไม้ หรือวิบากกรรมต่างๆ ก็คงจะไม่ได้ เพราะนั่นมันไม่ใช่เป็นเรื่องของความเชื่อ แต่มันเป็นเรื่องมาจากการที่ตัวของเราไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเราเองเป็นหลักต่างหาก อย่าไปโทษใครเลยนอกจากตัวเราเท่านั้น ที่ทำให้ตัวเราเจ็บไข้ได้ป่วย จะเป็นจะตายก็เพราะตัวเราเองอีกนั่นแหละที่ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยปละละเลยจนเกิดโรคร้ายขึ้น และหนึ่งในโรคที่คอยเป็นปีศาจร้ายแฝงกายอยู่ในตัวเรา โดยที่ตัวเราเองก็ไม่อาจล่วงรู้ได้เลยนั่นก็คือ “โรคกระเพาะอาหาร” นั่นเอง ซึ่งโรคนี้เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่เมื่อเป็นแล้วก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่าที่เราคิดมากนัก เพราะโรคนี้สามารถกลับกลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด หากเราปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานเกินไปจนกลายเป็นโรคเรื้อรัง
หนึ่งในสาเหตุที่มีความสัมพันธ์กับโรคนี้คือ การที่กระเพาะอาหารมีกรดมากจนเกินไป อันเนื่องมาจากการที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เพราะเมื่อเวลาที่เรารับประทานอาหารนั้น ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยออกมา เพื่อทำการย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป แต่ถ้าเราไม่รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เมื่อถึงเวลาที่รับประทานอาหารแล้ว เรายังไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลานั้นๆ ร่างกายก็ยังคงหลั่งน้ำย่อยออกมาตามปกติเพื่อทำการย่อยอาหารต่อไป แต่ในขณะนั้นร่างกายในส่วนกระเพาะยังไม่มีอาหารอยู่ น้ำย่อยที่ร่างกายหลั่งออกมาก็จะทำการย่อยเนื้อกระเพาะของเราแทนการย่อยอาหาร ทำให้เกิดกระเพาะเป็นแผล และผลที่ตามมาก็คือทำให้เกิดอาการปวดท้องในที่สุด
นอกจากนี้ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กันกับการเกิดโรคนี้ก็คือ การที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป ซึ่งสิ่งที่ทำการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างกรดในกระเพาะอาหารที่มากขึ้นนั้นก็ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความเครียด การดื่มเครื่องดื่มที่สารคาเฟอีนมากจนเกินไป โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ร่างกายของเราเกิดการกระตุ้นและนำไปสู่การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากจนเกินไปนั่นเอง
โรคกระเพาะอาหารอาจแบ่งตามลักษณะอาการได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- กลุ่มที่1 แบบที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งจะเป็นเพียง 15-10% เท่านั้นของคนที่มีลักษณะอาการของโรคนี้ โดยการที่มีแผลในกระเพาะอาหารนั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1.1 แผลที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดแผลในส่วนของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการในแบบนี้ สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการให้ยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย และส่วนใหญ่คนที่มีอาการลักษณะนี้มักจะหายขาดหลังจากการได้รับการรักษาจากการใช้ยากำจัดเชื้อแบคทีเรียแล้ว
1.2 แผลที่เกิดจากการรับประทานยาประเภทยาแก้ปวดมากจนเกินไปเช่น ยาประเภทในกลุ่มแอสไพริน หรือยาประเภทกลุ่มแก้ปวดข้อ ซึ่งผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีการเกิดแผลในกระเพาะลักษณะแบบนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะรับประทานยาแก้ปวดเหล่านี้เป็นประจำ เนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องรับประทานยาของโรคประจำตัว เช่น โรคปวดข้อต่างๆ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเหลือดสมองตีบ เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านั้นมักจะอยู่ในหมวดของยาแก้ปวดข้อหรือยาแอสไพริน โดยอาจมีวิธีป้องกันในเบื้องต้นจากแพทย์ผู้รักษาโรคในหมู่ผู้สูงอายุก็คือ การให้ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารควบคู่กันไปด้วย
- กลุ่มที่ 2 แบบที่ไม่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมีอาการในลักษณะแบบนี้ โดยเกิดการจากการทำงานของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ
ไม่ว่าผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจะเป็นกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ก็ตาม ก็จะมีลักษณะอาการแสดงออกมาให้เห็นคล้ายๆ กัน กล่าวคือ จะมีอาการท้องอืด แน่นท้อง เสียดท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง มีลมเยอะในบริเวณท้องด้านบนหรือลิ้นปี่ ทั้งก่อนหรือหลังเวลารับประทานอาหาร เวลาหิวมักจะมีอาการปวดท้อง แสบท้อง และเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้วจะมีอาการอิ่มง่าย รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย แต่อาการคลื่นไส้ อาเจียนนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็น จะมีเพียงบางคนเท่านั้นที่จะแสดงอาการเหล่านี้ออกมาด้วย
สำหรับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารนั้น อาจจะมีอาการแทรกซ้อนตามมาได้ด้วยเช่น อาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้นได้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากก็คือ ในกลุ่มของผู้สูงอายุ หรือในกลุ่มของผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีอาการแทรกซ้อนอีกลักษณะหนึ่งที่น่ากลัวก็คือ อาการแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ จึงทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งในกรณีของผู้ที่มีลักษณะอาการแบบนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการผ่าตัดรักษา อีกทั้งถ้าในกรณีที่ผู้เป็นแผลในลักษณะแบบนี้ เป็นเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ปลายกระเพาะอาหารตีบ หรือทำให้ปลายกระเพาะอาหารอุดตันได้ ส่งผลให้เวลาที่รับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายไม่สามารถส่งอาหารต่อไปยังลำไส้ได้ จึงให้เกิดการอุดตันขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอาการอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างจะชัดเจนและรุนแรงสำหรับคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังมานานก็คือ มีอาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนมาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะลดน้ำหนัก ซึ่งหากใครมีอาการลักษณะแบบนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีการป้องกันตนเองจากโรคร้ายที่แฝงตัวมาเป็นปีศาจร้ายในกายเรานี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดี เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด พักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญคือจะต้องไม่เครียด
อีกวิธีง่ายๆ ที่จะเป็นการดูแลตัวเองในเบื้องต้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารก็คือ ในกรณีที่มีอาการปวดท้องแต่ไม่มาก ก็อาจจะรับประทานยาน้ำลดกรดแบบธรรมดาได้ หรือรับประทานอาหารเสริมควบคู่กันไปเพื่อเป็นการป้องกันอย่างเช่น การรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของขมิ้นชัน เพราะขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการแก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย รวมไปถึงรักษาอาการท้องเสียได้อีกด้วย และหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ดีมีคุณภาพและผลิตมาจากสมุนไพรคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับในวงกว้างก็คือ ขมิ้นชันนาโน – กรีนเคอมิน (GreenCurmin) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาอาการโรคกระเพาะได้