อาการโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร (Stomach Diseases) มีชื่อทางการแพทย์ว่า Gastric Disorders เป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งในกระเพาะ อย่างไรก็ตาม มักจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคนี้อีกได้แก่ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือการมีความเครียดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น
การแสดงอาการโรคกระเพาะอาหารมี 2 ลักษณะหลักๆ คือ
-
แบบไม่แสดงอาการให้เห็น
การที่ร่างกายไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถรู้ตัวเองได้เลยว่าตนเองนั้นกำลังเป็นโรคร้ายนี้อยู่ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมาก เพราะร่างกายจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้รู้ตัว และกว่าที่จะแสดงอาการออกมานั้น ก็อาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีอาการที่รุนแรงมาก และอาจลุกลามไปจนถึงขั้นกลายไปเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เลยทีเดียว เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ที่แรกเริ่มเป็นโรคนี้
-
แบบแสดงอาการให้เห็น
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการแสดงออกมาเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ตัวเช่น มีอาการอิ่มแล้วจุกแน่น หรือมีอาการหิวแล้วจุกแน่น ปวดท้องบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ ท้องบวม ท้องแข็ง หรือมีอาการปวดแสบ เสียด จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะแสดงอาการที่เป็นนี้ในช่วงเวลาที่มีความสัมพันธ์กันกับช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร เช่น ก่อนรับประทานอาหาร และ/หรือหลังจากที่เพิ่งรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ดังที่เรามักจะเคยได้ยินสำนวนของคนที่มีอาการลักษณะแบบนี้ว่า หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด ซึ่งถือเป็นการตั้งข้อสังเกตุในเบื้องต้นว่า บุคคลที่มีลักษณะแบบนี้คือ บุคคลที่มีอาการโรคกระเพาะอย่างแน่นอน และบางรายที่มีแผลในบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นร่วมด้วยนั้น ก็มักจะมีอาการปวดท้อง หลังการรับประทานอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง และจะปวดเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาบ่าย หรือช่วงเย็น หรือช่วงดึก ซึ่งอาการจะดีขึ้นทันทีหลังจากการรับประทานอาหาร ดื่มนม รับประทานยาลดกรด และในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ เรอเปรี้ยวร่วมด้วย
ในกรณีที่เป็นผู้มีอาการของโรคแสดงออกมาให้ชัดเจนดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคนโดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่าอาการโรคกระเพาะอาหารนั้น ในความเป็นจริงแล้วคือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร นั่นหมายถึงแผลที่เกิดในเยื่อบุกระเพาะอาหาร โดยเกิดจากสัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร จนทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการปวดท้องเนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหารจำนวนมาก และทำให้ระคายเคืองจนส่งผลให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารนั่นเอง และในหลายกรณีของผู้ที่เป็นโรคนี้นั้น มักจะไม่ได้ปวดอยู่ตลอดเวลา แต่มักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ ในช่วงก่อน และ/หรือหลังเวลารับประทานอาหาร โดยอาการปวดท้องจะทุเลาลงหากได้รับประทานอาหารแล้ว
ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารนี้จะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพราะถ้าหากละเลยไม่รักษาและปล่อยให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจากอาการปวดท้องเพราะมีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไปเพียงอย่างเดียว อาจก่อให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีก เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะลำไส้อักเสบและเป็นแผลทะลุได้ เป็นต้น
ที่มาของโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมา แล้วไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเยื่อบุกระเพาะอาหารมีความต้านทานกรดได้ไม่ดีจึงทำให้เกิดแผลขึ้นได้
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ที่พบมากในปัจจุบันคือ
-
การติดเชื้อแบคทีเรีย
การติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกย่อๆ ว่า เอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือมีชื่อย่อว่า H.pylori (H.P.) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่มักจะพบอยู่ในกระเพาะอาหารของมนุษย์ และไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามาแบคทีเรียนี้มาจากแหล่งใด และเมื่อเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าสู่กระเพาะอาหารแล้ว ก็จะเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิว ซึ่งจะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
-
พฤติกรรมในการใช้ชีวิต
ความเครียด ความกังวล ที่สะสมเป็นระยะเวลานานๆ อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก ภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่บีบคั้น รวมไปถึงวิถีชีวิตในด้านการรับประทานอาหารที่ไม่ดี ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมไปจนถึงการละเลยในการดูแลใส่ใจสุขภาพได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การอดอาหาร การรับประทานอาหารรสจัดๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัดๆ เช่น น้ำสลัดที่มีรสเปรี้ยวมากๆ ผลไม้ดอง หรือของหมักของดองต่างๆ เป็นประจำ การรับประทานผักสดมากจนเกินไป การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin หรือการรับประทานยาลดการอักเสบเป็นประจำ เป็นต้น
วิธีป้องก้นกรดไหลย้อน
จากสาเหตุดังที่กล่าวไปในเบื้องต้นนั้น เราสามารถที่จะป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอันได้แก่ การใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด เปรี้ยวจัด หรือไม่รับประทานผักสดมากจนเกินไป รู้จักกับวิธีการจัดการกับความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หากเรามีอาการที่ดูลักษณะแล้วเหมือนการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยไว้เนิ่นนานจนเกิดอาการลุกลาม หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ในปัจจุบันซึ่งเป็นโลกแห่งนวัตกรรมสมัยใหม่ ในเรื่องของการทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถดูแลรักษาสุขภาพได้ด้วยตนเองในเบื้องต้นได้เช่นกัน โดยผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ทำมาจากสมุนไพรธรรมชาติที่เรียกว่า ขมิ้นนาโน ผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ก็คือ กรีนเคอมิน (GreenCurmin) นั่นเอง ซึ่งได้ทำการสกัดเคอคูมินอยด์ (Curcuminoid) มาเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถละลายน้ำได้ถึง 10,000 เท่า ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ 100% กรีนเคอมิน 1 แคปซูล เทียบเท่ากับ ขมิ้นชันทั่วไป 500-600 แคปซูล กรีนเคอมินมีคุณสมบัติในการแก้โรคกระเพาะได้ นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ได้เป็นอย่างดี